วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

การออกแบบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การวิเคราะห์ความต้องการของระบบเครือข่าย

         1. การศึกษาระบบเครือข่ายเดิม คือ ในการออกแบบระบบเครือข่ายนั้น ผู้ออกแบบจำเป็นต้องรู้ถึงข้อมูลต่างๆ ขององค์กร อาทิเช่น ลักษณะโปรแกรมที่ใช้งานอยู่ ลักษณะการทำงาน เป็นต้น

        
2. การวิเคราะห์ความต้องการจากผู้ใช้งาน เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานหรือ ความต้องการส่วนบุคคล

         3. การวิเคราะห์ความต้องการขององค์กรจากผู้บริหาร เพื่อเก็บข้อมูลว่าองค์กรมีความต้องการใช้งานระบบเครือข่ายอย่างไร

         4. การวิเคราะห์ความต้องการด้านเทคโนโลยี เพื่อเก็บข้อมูลความต้องการใช้งานในเทคโนโลยีอย่างไร มีความทันสมัยมากน้อยเพียงใด

ศึกษาความเป็นไปได้ของการออกแบบระบบ


     หลังจากเก็บข้อมูลความต้องการของระบบเครือข่ายได้แล้วนั้น ก็จำเป็นต้อง ศึกษาถึงความเป็นไปได้สำหรับการออกแบบระบบเครือข่ายตามความต้องการที่ได้รับ เนื่องด้วยความต้องการที่ได้เก็บรวบรวมมาอาจทำได้ไม่ครบหรือทำได้ไม่ครบถ้วน สมบรูณ์


เลือกประเภทของเครือข่าย


LAN (Local Area Network ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น)
       เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานอยู่ในบริเวณที่ไม่กว้างนักอาจใช้อยู่ภายในอาคาร เดียวกันหรืออาคารที่อยู่ใกล้กันเช่น ภายในมหาวิทยาลัยอาคารสำนักงานคลังสินค้าหรือโรงงานเป็นต้นการส่งข้อมูล สามารถทำได้ด้วยความเร็วสูง และมีข้อผิดพลาดน้อย

MAN (Metropolitan Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับเมือง
       เป็นระบบเครือข่ายที่มีขนาดอยู่ระหว่าง Lan และ Wan เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัดเท่านั้น การเชื่อมโยงจะต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ จึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขา เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร  

WAN (Wide Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง
       เป็นระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง เช่น ระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานทั่วโลก เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่อยู่ห่างไกลกันเข้าด้วย กัน อาจจะต้องเป็นการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลกก็ได้
แบ่งตามลักษณะ การไหลของข้อมูล มีดังนี้

โครงข่ายแบบรวมอำนาจ (Centralized Networks)


โครงข่ายแบบรวมอำนาจนี้ประกอบด้วยรูปแบบย่อย 3 รูปแบบด้วยกัน คือ
           - โครงข่ายแบบล้อ (Wheel Network) เป็นรูปแบบที่รวมอำนาจมากที่สุด ข่าวสารทุกอย่างจะต้องไหลผ่านบุคคลที่เป็นศูนย์กลางของล้อ
           - โครงข่ายแบบลูกโซ่ (Chain Network) เป็นรูปแบบที่สมาชิกบางคนสามารถติดต่อสื่อสารกับสมาชิกคนอื่น ๆได้มากกว่า 1 คน อย่างไรก็ตามบุคคลที่เป็นศูนย์กลางของลูกโซ่ยังคงเป็นผู้ควบคุมข่าวสารทั้ง หมด
           - โครงข่ายแบบ Y (Y Network) เป็นรูปแบบผสมระหว่างแบบล้อกับแบบลูกโซ่


โครงข่ายแบบกระจายอำนาจ (Decentralized Network)


             - โครงข่ายแบบวงกลม (Circle Network) เป็นรูปแบบที่อนุญาตให้สมาชิกแต่ละคนสามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นที่ อยู่ติดกันได้ทั้ง 2 ข้าง
            - โครงข่ายแบบดาว (Star Network) เป็นรูปแบบที่มีการกระจายอำนาจมากที่สุด รูปแบบนี้จะเปิดโอกาสให้สมาชิกแต่ละคนที่จะติดต่อสื่อสารกับสมาชิกคนใดก็ได้ โดยไม่จำกัดเสรีภาพ

แบ่งตามลักษณะหน้าที่การทำงานของคอมพิวเตอร์ มีดังนี้


ระบบเครือข่าย Peer-to-Peer


          งานบนระบบเครือข่าย Peer-to-Peer จะมีความเท่าเทียมกันสามารถที่จะแบ่งปันทรัพยากรให้แก่กันและกันได้ เช่นการใช้เครื่องพิมพ์หรือแฟ้มข้อมูลร่วมกันในเครือข่าย ในขณะเดียวกันเครื่องแต่ละสถานีงานก็จะมีขีดความสามารถในการทำงานได้ด้วยตัว เอง (Stand Alone)


ข้อดีและข้อด้อยของระบบเครือข่าย Peer-to-Peer


Ò  ข้อดีของระบบนี้คือ ความง่ายในการจัดตั้งระบบ มีราคาถูก และสะดวกต่อการบริหารจัดการ ดังนั้นระบบนี้จึงเหมาะสมสำหรับสำนักงานขนาดเล็ก ที่มีสถานีงานประมาณ 5-10 เครื่องที่วางอยู่ในพื้นที่เดียวกัน
 

Ò  ข้อด้อยของระบบนี้คือ เรื่องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากไม่มีระบบการป้องกันในรูปแบบของ บัญชีผู้ใช้ และรหัสผ่าน ในการเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ของระบบ


ระบบเครือข่ายแบบ Client/Server


                                                            รูปแสดงตัวอย่างโครงสร้างระบบเครือข่ายแบบ Client/Server

        เป็นระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูง และมีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางมากกว่าระบบเครือข่ายแบบอื่นที่มีใน ปัจจุบัน ระบบ Client/Server สามารถสนับสนุนให้มีเครื่องลูกข่ายได้เป็นจำนวนมาก และสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายแพลตฟอร์ม ระบบนี้จะทำงานโดยมีเครื่อง Server ที่ให้บริการ เป็นศูนย์กลางอย่างน้อย 1 เครื่อง


เลือกเทคโนโลยีที่ใช้ในระบบเครือข่าย



เทคโนโลยีระบบเครือข่าย LAN


       LAN (Local Area Network) คือเครือข่ายข้อมูลความเร็วสูงและทนทานต่อการเกิดข้อผิดพลาดระหว่างการรับ ส่งข้อมูล เครือข่าย LAN นั้นจะครอบคลุมพื้นที่ขนาดเล็ก โดยปกติจะเป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่นๆที่อยู่ไม่ห่างกันมากนัก

อีเทอร์เน็ต (Ethernet)


        อีเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่พัฒนามาจากโครงสร้างการเชื่อมต่อแบบสาย สัญญาณร่วมที่เรียกว่า บัส (Bus) โดยใช้สายสัญญาณแบบแกนร่วม คือ สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) เป็นตัวเชื่อม สำหรับระบบบัส เป็นระบบเทคโนโลยีที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเชื่อมโยงเข้ากับสายสัญญาณ เส้นเดียวกัน คือ เมื่อมีผู้ต้องการส่งข้อมูล ก็ส่งข้อมูลได้เลย แต่เนื่องจากไม่มีวิธีการค้นหาเส้นทางที่ส่งว่างหรือเปล่า จึงไม่ทราบว่ามีอุปกรณ์ใดหรือคอมพิวเตอร์ เครื่องใดที่ส่งข้อมูลมาในช่วงเวลาเดียวกัน จะทำให้เกิดการชนกันขึ้นและเกิดการสูญหายของข้อมูล จึงมีการพัฒนาระบบการรับส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์กลางที่เรียกว่า ฮับ (Hub)

        วิธี การเชื่อมแบบนี้จะมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ฮับ ใช้สายสัญญาณไปยังอุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์อื่น ๆ จุดเด่นของดาวตัวนี้ จะอยู่ที่ เมื่อมีการส่งข้อมูล จะมีการตรวจสอบความผิดพลาดว่า อุปกรณ์ใดจะส่งข้อมูลมาบ้างและจะมีการสับสวิตซ์ให้ส่ง ได้หรือไม่ แต่เมื่อมีฮับเป็นตัวแบกภาระทั้งหมด ก็มีจุดอ่อนได้คือ ถ้าฮับเกิดเป็นอะไรขึ้นมา อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ หรือคอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้อีก
        ภายในฮับมีลักษณะเป็นบัสที่เชื่อมสายทุกเส้นเข้าด้วยกัน ดังนั้นการใช้ฮับและบัสจะมีระบบการส่งข้อมูลแบบ เดียวกัน และความเร็วในการส่งกำหนดไว้ที่ 10 ล้านบิตต่อ วินาที และกำลังมีมาตรฐานใหม่ให้สามารถรับส่งสัญญาณได้ถึง 100 ล้านบิตต่อวินาที


โทเก็นริง (Token Ring)


      โทเก็นริง เป็นเครือข่ายที่บริษัท ไอบีเอ็ม พัฒนาขึ้น รูปแบบการเชื่อมโยงจะเป็น วงแหวน โดยด้านหนึ่งเป็นตัวรับสัญญาณและอีกด้านหนึ่งเป็นตัวส่งสัญญาณ การเชื่อมต่อแบบนี้ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถส่งข้อมูลถึงกันได้ โดยผ่านเส้นทางวงแหวนนี้ การติดต่อสื่อสารแบบนี้จะมีการจัดลำดับให้ผลัดกันส่งเพื่อว่าจะได้ไม่เกิด การสูญหายของข้อมูล


ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN : WLAN)


      การส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายแบบไร้สาย นั้นมีอยู่ 2 เทคโนโลยี คือ แบบใช้คลื่นความถี่วิทยุ (Radio frequency) และแบบใช้สัญญาณอินฟราเรด (Infrared) ซึ่งแบบใช้คลื่นความวิทยุยังแบ่งการส่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Narrowband และ Spread-Spectrum ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

      แบบคลื่นความถี่วิทยุ (Radio frequency) ใช้ลักษณะการแปลงข้อมูลไปเป็นคลื่นทำให้สามารถส่งไปได้ระยะทางที่ไกล สามารถผ่านสิ่งกีดขวางได้ดี ร่วมทั้งเป็นการส่งแบบทุกทิศทาง

การรับส่งโดยใช้คลื่นวิทยุนั้นมี 2 ประเภท

      1.แบบ คลื่นความถี่แคบ (narrowband) จะรับส่งข้อมูลโดยแปลงเป็นบางช่วงสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เรียกว่า ISM ( Industrial / Scientific / Medical ) ที่มีความถี่แบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่ 902-928 MHz, 2.14 - 2.484 MHz และ 5.725 - 5.850 MHz โดยการใช้งานต้องมีการขออนุญาตก่อนจาก FCC (Federal Communication Committee)

      2. คลื่นความถี่วิทยุแบบ Spread-Spectrum เป็นการวิธีการเปลี่ยนแปลงสัญญาณข้อมูลเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ความถี่วิทยุ มากกว่าความต้องการเพื่อป้องกันคลื่นรบกวนและการดักฟัง ที่มีความถี่แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ 902 - 928 MHz และ 2.4 - 2.484 MHz ซึ่งไม่ต้องได้รับอนุญาตจาก FCC


แบบสัญญาณอินฟราเรด (Infrared)


      โดยอินฟราเรดเป็นส่วนหนึ่งของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าที่อยู่เหนือคลื่นวิทยุ และต่ำกว่าแสงที่มองเห็น โดยแสงอินฟราเรดสามารถใช้ส่งข้อมูลได้ถึงแม้ว่าการส่งจะถูกจำกัดให้เป็นแนว เส้นตรง และที่จะต่อเครื่องพีซีเข้ากับเครื่องพิมพ์หรือคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นเพื่อ แลกเปลี่ยนข้อมูลได้โดยไร้สาย

                                                       รูปแสดงการส่งสัญญาณเครือข่ายไร้สาย


                                                                        รูปแสดงการส่งสัญญาณเครือข่ายไร้สาย

เลือกระบบปฏิบัติการที่ใช้ในระบบเครือข่าย



ระบบปฏิบัติการเครือข่ายในปัจจุบัน


       ระบบปฏิบัติการเครือข่ายในปัจจุบันมีอยู่หลายตัวให้เลือกใช้ ทั้งที่สามารถใช้งานได้ ฟรี และต้องเสียค่าใช้จ่าย จำเป็นที่ผู้ออกแบบต้องพิจารณาเลือกให้มีความเหมาะสมมากที่สุดกับ ระบบเครือข่ายที่ออกแบบไว้
            -  Window NT, Windows 2000 Server เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท ไมโครซอฟต์ จำกัด ประมาณปลายปี 1995 สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เริ่มต้นไมโครซอฟต์ต้องการพัฒนาเป็นแอปปลิเคชั่น เซอร์ฟเวอร์ แต่ปัจจุบันสามารถประยุกต์ได้เป็น
ดาต้าเบสเซอรฟ์เวอร์ และอินเทอร์เน็ตเซอร์ฟเวอร์

           - Linux เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับระบบเครือข่าย ที่อยู่ในกลุ่มของ FreeWare ที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพสูง Linux พัฒนาขึ้นโดยนาย ไลนัส ทอร์วัลด์ (Linus Torvalds) ขณะที่ยังเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเฮซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ เขาได้ส่งซอร์สโค้ด(Source Code) ให้นักพัฒนาทั่วโลกร่วมกันพัฒนา โดยข้อดีของ Linux สามารถทำงานได้พร้อมกัน (Multitasking) และใช้งานได้พร้อมกันหลายคน(MultiUser) ทำให้เป็นที่นิยมแพร่หลาย บางคนกล่าวว่า "Linux ก็คือน้องของ Unix" แต่จริงๆ แล้วลีนุกซ์มีข้อดีกว่ายูนิกซ์(Unix) คือสามารถทำงาน ได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) ที่ใช้งานอยู่ทั่วๆไป

           - NetBUEI พัฒนาโดย IBM ในปี ค . ศ .1985 เป็นโปรโตคอลที่มีขนาดเล็กกะทัดรัดทำงานได้รวดเร็ว เหมาะสมกับระบบเครือข่ายที่มีขนาดเล็ก ไม่เหมาะกับเครือข่ายขนาดใหญ่เนื่องจากไม่สามารถค้นหาเส้นทางได้

           - OS/2 Warp เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่าย ที่บริษัทไอบีเอ็ม พัฒนาขึ้น เพื่อนำเสนอสำหรับการค้าขายในยุคดิจิตอลซึ่งไม่ค่อยประสบความสำเร็จ นักต่อมาจึงเพิ่มในส่วนของ e-Business คือด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีการออกแบบเวอร์ชันใหม่ ๆ เช่น OS/2 Server เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

การออกแบบระบบ


     เมื่อผู้ออกแบบระบบเครือข่ายมีข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์แล้วนั้นก็สามารถลงมือทำ การออกแบบระบบเครือข่ายได้ โดยในการออกแบบเครือข่ายนั้นอาจทำโดยใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ช่วยในการวาดและออกแบบได้ เช่น Microsoft Visio

                                                    รูปแสดงตัวอย่างการออกแบบระบบเครือข่าย

การติดตั้งและพัฒนาระบบ


     ในขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบระบบเครือข่ายอาจมอบหมายให้ช่างผู้ชำนาญการ ทำการ ติดตั้งได้หรือมอบหมายให้บริษัทที่มีความเชี่ยวชาญเขามาดำเนินการ โดยจะต้องเขาควบคุม ตรวจสอบให้การติดตั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและใช้งานได้อย่างดีตามที่ได้ ออกแบบไว้

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

ใบงานที่ 9 

1. การเข้าหัว RJ-45

ลักษณะของสาย UTP
สาย UTP เป็นสายนำสัญญาณ ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์เน็ตเวอก์เข้าด้วยกัน ลักษณะทางกายภาพภายในสาย จะประกอบด้วยสายทองแดง 4 คู่ รวม 8 เส้น ดังนี้
*หมายเหตุ ฉนวนชั้นนอก อาจจะเป็นสีขาวหรือสีอื่นตามแต่ละผู้ผลิต
รูปสาย UTP
คู่ ขาวส้มส้ม
คู่ ขาวเขียวเขียว
คู่ ขาวน้ำเงินน้ำเงิน
คู่ ขาวน้ำตาลน้ำตาล

ลักษณะของ Connector RJ –45
จะเป็นหัวต่อที่มีลักษณะปิด คือ โครงสร้างภายนอกเป็นพลาสติกใส ฝังขั้วทองแดงภายใน 8 อัน เท่ากับจำนวนสาย( ถ้า เข้าหัวเสีย จะไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ )
การเข้าสาย UTP กับ Connector RJ – 45
    เมื่อตัดสายตามความยาวที่ต้องการแล้ว ให้ ปอกฉนวนภายนอกออก ประมาณ 2 – 2.5 cm ( !!! ระวังอย่าให้ไปโดนทองแดง )
  • จัดสายทองแดงตาม Color Code ดังนี้
  • การต่อสายแบบปกติ ( Direct )เช่น ต่อจาก อุปกรณ์ Active ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์
    (จำกัดความยาวไม่เกิน 100 เมตร )
Computer
ลำดับสาย
Active Device
ขาวส้ม
1
ขาวส้ม
ส้ม
2
ส้ม
ขาวเขียว
3
ขาวเขียว
น้ำเงิน
4
น้ำเงิน
ขาวน้ำเงิน
5
ขาวน้ำเงิน
เขียว
6
เขียว
ขาวน้ำตาล
7
ขาวน้ำตาล
น้ำตาล
8
น้ำตาล
  • การต่อสายแบบสลับคู่สาย ( Cross ) เช่น จากคอมพิวเตอร์ไปคอมพิวเตอร์หรือ อุปกรณ์ Active กับ อุปกรณ์ Active ( จำกัดความยาวไม่เกิน 5 เมตร )
Computer 1
ลำดับสาย
Computer 2
ขาวส้ม
1
ขาวเขียว
ส้ม
2
เขียว
ขาวเขียว
3
ขาวส้ม
น้ำเงิน
4
น้ำเงิน
ขาวน้ำเงิน
5
ขาวน้ำเงิน
เขียว
6
ส้ม
ขาวน้ำตาล
7
ขาวน้ำตาล
น้ำตาล
8
น้ำตาล

*
สรุป คือ สายเส้นที่ 1 สลับกับ เส้นที่ 3
สายเส้นที่ 2 สลับกับ เส้นที่ 6

  • เมื่อเรียงสีของฉนวนตาม Color Code แล้ว ให้นำใส่เข้ากับหัวต่อ RJ – 45 ดังรูป
หัว RJ – 45 ให้หันด้านที่มี Lock ไปทางด้านหลัง และสายทองแดงพยายามตีเกลียว ให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้เพื่อเป็นการ ลด NOISE ดังรูป
 
    เมื่อจัดสายได้ถูกต้องและดูว่าสายทองแดงเข้าไปจนสุดแล้วให้ใช้ อุปกรณ์เข้าหัวหนีบที่หัว RJ–45ด้วยแรงพอประมาณ PIN ที่หัว RJ – 45 จะลงไปชนกับสายทองแดงโดยอัตโนมัติ 

2. การแชร์ข้อมูลในเครือข่ายด้วย Windows 7 

  1. อันดับแรกเราต้องทำการเปิดการแชร์ของ network ที่เราใช้อยู่เสียก่อนให้เข้าไปที่ control panel  -> Network and Internet -> Network and Sharing Center เมื่อกดเข้ามาแล้วจะพบกับหน้าต่างดังภาพ

  2. คลิ๊กเลือกไปที่ Change advanced sharing setting เพื่อเข้าสู่เมนูของการปรับแต่งค่าของ Network ซึ่งจุดนี้สำคัญเราต้องปรับค่าให้ตรงกับ Network ที่เราใช้อยู่ โดยทั่วไปจะมี Home , Work network และ Public ซึ่งถ้าเราใช้ Network ตัวไหนอยู่ก็ให้ทำการปรับค่าที่ Network นั้นซึ่งในตัวอย่างเป็น Network แบบ Public เมื่อกดเข้าไปเราหาเมนูดังภาพด้านล่าง
  3. ทำการเปิด Network discovery , File and printer sharing และ Public folder sharing โดยติ๊กเลือกที่ Turn on ดังภาพด้านบน จากนั้นเลื่อนลงมาด้านล่างสุดหาคำว่า Password protected sharing ทำการ Turn of ค่านี้ดังภาพด้านล่าง
  4. เมื่อทำการตั้งค่าเสร็จเรียบร้อยให้กด Save Change แล้วปิดหน้าต่างออกมาได้เลย จากนั้นมาเข้าสู่กระบวนการแชร์ไฟล์ โฟลด์เดอร์ หรือไดร์ฟโดยทำนำเมาส์ไปชี้ที่ไฟล์ โฟลด์เดอร์ หรือไดร์ฟที่ต้องการจะแชร์ คลิ๊กขวาเลือก properties เพื่อเรียกหน้าต่างสำหรับปรับแต่งค่าขึ้นมา จากนั้นเลือกไปที่หัวข้อ Sharing จากนั้นเลือกไปที่ Share คลิ๊กหนึ่งครั้ง
  5. เมื่อคลิ๊กที่คำสั่ง Share แล้วจะปรากฏหน้าต่างสำหรับกำหนดสิทธิ์ ตรงจุดนี้ไม่ต้องใส่ใจเลือกคลิ๊กไปที่ Share ที่อยู่ด้านล่างได้เลยดังภาพ
  6. เมื่อเสร็จสิ้นการแชร์แล้ว เราจำเป็นจะต้องกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงไฟล์ โฟลด์เดอร์ หรือไดร์ฟที่เราได้ทำการแชร์เมื่อครู่นี้โดยเลือกไปที่หัวข้อ Security เพื่อทำการกำหนดสิทธิ์โดยเมื่อคลิ๊กเข้าไปก็จะพบกับหน้าต่างดังภาพด้านล่าง
  7. เลือกไปที่ Edit เพื่อเข้าสู่เมนูการเพิ่มสิทธิ์ จากนั้นเลือกไปที่ add
  8. พิมพ์คำว่า everyone ลงในช่อง Enter the object names to select จากนั้นกด Check Name หากพิมพ์ถูกต้องก็จะปรากฏคำว่า Everyone ขึ้นมาดังภาพด้านล่างจากนั้นกด OK
  9. เมื่อทำการเพิ่มชื่อแล้วให้กลับมาดูที่ช่องของการกำหนดสิทธิ์ในส่วนของ Group or user names ถ้ามี Everyone ปรากฎอยู่ก็เป็นอันเสร็จให้กด OK ออกมาได้เลยเท่านี้เครื่องเราก็จะสามารถทำการแชร์ไฟล์ได้ตามปกติแล้ว

 3. การแชร์เครื่องพิมพ์(printer) ใน Windows7

เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการแชร์ปริ้นเตอร์

แชร์เครื่องปริ้นเตอร์


เปิดระบบป้องกันการเ้ข้าใช้แบบสาธารณะ ถ้าไม่เปิดก็ได้แต่เครื่องที่ต้องการเข้ามาใช้ต้องล๊อกอินก่อนใช้เครื่องปริ้น
คลิกเลือก Turn off เพื่อปิดระบบล๊อกอิน
จากนั้นดูไอพีเครื่องที่แชร์ปริ้นเตอร์
เสร็จขั้นตอนการแชร์ที่เครื่องแม่

ขั้นตอนการเข้าใช้ปริ้นเตอร์ที่เครื่องลูก


กดปุ่ม Windows+r แล้วพิมพ์ตามขั้นตอนที่ 13

หรือจะเข้าแบบนี้ก็ได้แล้วเอนเทอร์

ดับเบิ้ลคลิกที่ปริ้นเตอร์ตามขั้นตอนที่ 14


การตั้งเครื่องปริ้นเตอร์เป็นเครื่องหลัก



 


 

วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

การรักษาความปลอดภัยบนระบบเครือข่าย



บทที่ 8
การรักษาความปลอดภัยระบบเครือข่าย


                         ในระบบเครือข่ายนั้นจะมีผู้ร่วมใช้เป็ นจ านวนมาก ดังนั้นจึงมีทั้งผู้ที่ประสงค์ดีและประสงค์ร้ายควบคู่กันไป สิ่งที่พบเห็นกันบ่อยๆ ในระบบเครือข่ายก็คืออาชญากรรมทางด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลายประเภทด้วยกันเช่น พวกที่คอยดักจับสัญญาณผู้อื่นโดยการใช้เครื่องมือพิเศษจั๊มสายเคเบิลแล้วแอบบันทึกสัญญาณ พวกแคร๊กเกอร์
                         (Crackers) ซึ่งได้แก่ ผู้ที่มีความรู้ความช านาญด้านคอมพิวเตอร์แต่มีนิสัยชอบเข้าไปเจาะระบบคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย หรือไวรัสคอมพิวเตอร์ (Virus Computer)ซึ่งเป็ นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นมาโดยมุ่งหวังในการก่อกวน หรือท าลายข้อมูลในระบบ
การรักษาความปลอดภัยในระบบเครือข่ายมีวิธีการกระท าได้หลายวิธีคือ
                         1. ควรระมัดระวังในการใช้งาน การติดไวรัสมักเกิดจากผู้ใช้ไปใช้แผ่นดิสก์ร่วมกับผู้อื่น แล้วแผ่นนั้นติดไวรัสมา หรืออาจติดไวรัสจากการดาวน์โหลดไฟล์มาจากอินเทอร์เน็ต
                         2. หม่ันสา  เนาข้อมูลอยู่เสมอ การป้ องกันการสูญหายและถูกท าลายของข้อมูลที่ดีก็คือ การหมั่นส าเนาข้อมูลอย่างสม่ำาเสมอ
                        3. ติดตั้งโปรแกรมตรวจสอบและก าจัดไวรัส วิธีการนี้ สามารตรวจสอบ และป้ องกันไวรัส
คอมพิวเตอร์ได้ระดับหนึ่ง แต่ไม่ใช่เป็ นการป้ องกันได้ทั้งหมด เพราะว่าไวรัสคอมพิวเตอร์ได้มีการพัฒนาอยู่
ตลอดเวลา
                        4. การติดตั้งไฟร์วอลล์ (Firewall) ไฟร์วอลล์จะท าหน้าที่ป้ องกันบุคคลอื่นบุกรุกเข้ามาเจาะ
เครือข่ายในองค์กรเพื่อขโมยหรือท าลายข้อมูล เป็ นระยะที่ท าหน้าที่ป้ องกันข้อมูลของเครือข่าย โดยการ
ควบคุมและตรวจสอบการรับส่งข้อมูลระหว่างเครือข่ายภายในกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                        5. การใช้รหัสผ่าน (Username & Password) การใช้รหัสผ่านเป็ นระบบรักษาความปลอดภัยขั้นแรกที่ใช้กันมากที่สุด เมื่อมีการติดตั ้งระบบเครือข่ายจะต้องมีการก าหนดบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่าน หากเป็ น
ผู้อื่นที่ไม่ทราบรหัสผ่านก็ไม่สามารถเข้าไปใช้เครือข่ายได้หากเป็ นระบบที่ต้องการความปลอดภัยสูงก็ควรมีการเปลี่ยนรหัสผ่านบ่อย ๆ เป็ นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง

จรรยาบรรณสา  หรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

                        ปัจจุบันมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็ นจ านวนมาก และมีจ านวนเพิ่มขึ ้นทุกวัน เครือข่าย
อินเทอร์เน็ตเป็ นระบบออนไลน์ที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้ในเครือข่ายย่อมมีผู้ประพฤติไม่ดีปะปนอยู่ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่อส่วนรวมอยู่เสมอ
                        แต่ละเครือข่ายจึงได้ออกกฏเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่าย เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายของตนยึดถือและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เหล่านี ้จะช่วยให้สมาชิกโดยส่วนรวมได้รับประโยชน์สูงสุด และป้ องกันปัญหาที่เกิดจากผู้ใช้บางคนได้ดังนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนจะต้องเข้าใจกฏเกณฑ์ข้อบังคับของเครือข่ายที่89ตนเองเป็ นสมาชิกจะต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่น และจะต้องรับผิดชอบต่อการกระท าของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์
                       เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตใช้บริการอยู่ มิได้เป็ นเพียงเครือข่ายขององค์กรที่ผู้ใช้เป็นสมาชิกอยู่เท่านั้น แต่เป็ นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเครือข่ายต่างๆ จ านวนมากเข้าไว้ด้วยกัน มีข้อมูลข่าวสารวิ่งอยู่ระหว่างเครือข่ายมากมายการส่งข่าวสารลงในเครือข่ายนั้นอาจท าให้ข่าวสาร กระจายไปยังเครือข่ายอื่นๆ เช่น การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ฉบับหนึ่งอาจจะต้องเดินทางผ่านเครือข่ายหลายเครือข่ายจนกว่าจดหมายฉบับนั้นจะ เดินทางถึงปลายทาง ดังนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะต้องให้ความส าคัญและตระหนักถึงปัญหา ปริมาณข้อมูลข่าวสารที่วิ่งอยู่บนเครือข่ายแม้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจะได้รับสิทธ์ิจากผ้บู ริหารเครือข่ายให้ใช้บริการต่างๆ บเครือข่ายนั้นได้ผู้ใช้จะต้องเข้าใจกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เครือข่ายนั้นวางไว้ด้วยไมพ่ งึละเมดิสทิธ์ิหรือกระท าการใดๆ ที่จะสร้าง
ปัญหาหรือไม่เคารพกฎเกณฑ์ที่แต่ละเครือข่ายวางไว้และจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้บริหารเครือข่ายนั้นอย่างเคร่งครัด
                       การใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และเป็ นประโยชน์จะท าให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็ นสังคมที่น่าใช้และเป็ นประโยชน์ต่อส่วนรวม ผู้ใช้จะต้องหลีกเลี่ยงกิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติ เช่น การส่งกระจายข่าวลือจ านวนมากบนเครือข่ายการกระจายข่าวแบบส่งกระจายไปยังปลายทางจ านวนมาก การส่งเอกสารจดหมายลูกโซ่เป็ นต้น กิจกรรมเหล่านี้จะเป็ นผลเสียต่อส่วนรวม และไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ต่อสังคมอินเทอร์เน็ต

บัญญัติ 10 ประการ สา  หรับผู้ใช้อนิเทอร์เน็ต

                      ยืน ภู่วรวรรณ ได้กล่าวถึงบัญญัติ 10 ประการซึ่งเป็ นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทของการปฏิบัติผู้ใช้พึงระลึกและเตือนความจำเสมอ
                     1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ท าร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
                     2. ต้องไม่รบกวนการท างานของผู้อื่น
                     3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิ ดดูแฟ้ มข้อมูลของผู้อื่น
                     4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
                     5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็ นเท็จ
                     6. ต้องไมค่ ดัลอกโปรแกรมของผ้อู ่ืนท่ีมีลขิสทิธ์ิ
                     7. ต้องไมล่ ะเมดิการใช้ทรัพยากรคอมพวิเตอร์โดยท่ีตนเองไมม่ ีสทิธ์ิ
                     8. ต้องไม่น าเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็ นของตน
                     9. ต้องค านึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระท าของท่าน
                    10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฏระเบียบ กติกา และมีมารยาท90
                    จรรยาบรรณเป็ นสิ่งที่ท าให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็ นระเบียบ ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็ นเรื่องที่จะต้องปลูกฝังกฏเกณฑ์ของแต่ละเครือข่ายจะต้องมีการวางระเบียบ เพื่อให้การด าเนินงาน เป็ นไปอย่างมีระบบ และเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน บางเครือข่ายมีบทลงโทษที่ชัดเจน เช่น การปฏิบัติผิดกฏเกณฑ์ของเครือข่ายจะต้องตดัสทิธ์ิการเป็นผู้ใช้ของเครือข่ายในอนาคตจะมี การใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมากจรรยาบรรณจึงเป็ นสิ่งที่ช่วยให้สังคมอินเทอร์เน็ต สงบสุข หากมีการละเมิดอย่างรุนแรง กฎหมายจะเข้ามามีบทบาทต่อไป

จรรยาบรรณเกี่ยวกับเวิล์ดไวด์เว็บ (WWW)

                    1. ไม่ควรใส่รูปภาพที่มีขนาดใหญ่ไว้ในเว็บเพจของท่าน เพราะท าให้ผู้ที่เรียกดูต้องเสียเวลามาก ในการแสดงภาพเหล่านั้น ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตส่วนมากเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยโมเด็ม ท าให้ผู้เรียกดูรูปภาพขนาดใหญ่เบื่อเกินกว่าที่จะรอชมรูปภาพนั้นได้
                    2. เมื่อเว็บเพจของท่านต้องการสร้าง link ไปยังเว็บเพจของผู้อื่น ท่านควรแจ้งให้เจ้าของเว็บเพจ นั้นทราบ ท่านสามารถแจ้งได้ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
                   3. ถ้ามีวิดีโอหรือเสียงบนเว็บเพจ ท่านควรระบุขนาดของไฟล์วิดีโอหรือไฟล์เสียงไว้ด้วย (เช่น 10 KB, 2 MB เป็ นต้น)เพื่อให้ผู้เรียกดูสามารถค านวนเวลา ที่จะใช้ในการดาวน์โหลด ไฟล์วิดีโอ หรือไฟล์เสียงนั ้น
                   4. ควรตั้งชื่อ URL ให้ง่ายไม่ควรมีตัวอักษรตัวใหญ่ปนกับตัวอักษรตัวเล็ก ซึ่งจ าได้ยาก
                   5. ถ้าต้องการเรียกดูข้อมูลจาก URL ที่ไม่ทราบแน่ชัด ท่านสามารถเริ่มค้นหาจาก Domain address ได้โดยปกติ URL มักจะเริ่มต้นด้วย www แล้วตามด้วยที่อยู่ของเว็บไซต์ เช่น
http://www.nectec.or.th/
http://www.tv5.co.th/
http://www.kmitl.ac.th/
http://www.srithai.com/
                   6. ถ้าเว็บไซด์มี link เชื่อมโยงไปยังเว็บเพจอื่นๆ ด้วยรูปภาพ อาจท าให้ผู้เรียกดูที่ใช้โปรแกรมบราวเซอร์ที่ไม่สนับสนุนรูปภาพ ไม่สามารถเรียกชมเว็บไซต์ของท่านได้ ท่านควรเพิ่ม link ที่เป็ นตัวหนังสือเพื่อเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจอื่นๆ ด้วย
                   7. ไม่ควรใส่รูปภาพที่ไม่มีความส าคัญต่อข้อมูลบนเว็บเพจ เนื่องจากไฟล์ของรูปภาพมีขนาดใหญ่ ท าให้เสียเวลาในการเรียกดูและสิ้นเปลือง bandwidth โดยไม่จ าเป็ น
                   8. ควรป้องกนั ลิขสทิธ์ิของเว็บไซตด์้วยการใส่เครื่องหมาย trademark (TM) หรือเครื่องหมาย
Copyright ไว้ในเว็บเพจแต่ละหน้าด้วย
                   9. ควรใส่ Email address ของท่านไว้ด้านล่างของเว็บเพจแต่ละหน้า เพื่อให้ผู้เรียกชมสามารถ
สอบถามเพิ่มเติม หรือติดต่อท่านได้91
                 10. ท่านควรใส่ URL ของเว็บไซต์ไว้ด้านล่างของเว็บเพจแต่ละหน้าด้วย เพื่อเป็ นแหล่งอ้างอิงในอนาคตส าหรับผู้ที่สั่งพิมพ์เว็บเพจนั้น
                 11. ควรใส่วันที่ของการแก้ไขข้อมูลบนเว็บไซต์ครั้งสุดท้ายไว้ด้วย เพื่อให้ผู้เรียกชมทราบว่าข้อมูลที่ได้รับนั้นมีความทันสมัยเพียงใด
                 12. ห้ามไม่ให้เวบไซด์มีเนื้อหาที่ละเมิดลิขสทิธ์ิมีเนื้อหาที่ตีความไปในทางลามกอนาจาร หรือการใช้ความ รุนแรง เนื้อหาที่ขัดต่อกฎหมาย ผู้จัดท าเว็บไซต์จะต้องเป็ นผู้รับผิดชอบต่อเนื้อหาและข้อมูลทั้้งหมดในเว็บไซต์นั้น

จรรยาบรรณเกี่ยวกับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (email) และแฟ้มข้อมูล

                 ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนมีตู้จดหมาย (mailbox) และอีเมล์แอดเดรสที่ใช้อ้างอิงในการรับส่งจดหมายความรับผิดชอบต่อการใช้งานจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เป็ นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความส าคัญอย่างมาก เพราะระบบจะรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์โดยอัตโนมัติหากมีจดหมายค้างในระบบเป็ นจ านวนมากจะท าให้พื้นที่จัดเก็บจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของระบบหมดไป ส่งผลให้ระบบไม่สามารถรับส่งจดหมายได้อีก ท าให้ผู้ใช้ทุกคนในระบบไม่สามารถรับส่งจดหมายที่ส าคัญได้อีกต่อไป นอกจากนี ้ผู้ใดผู้หนึ่งส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดใหญ่มาก ส่งแบบกระจายเข้าไปในระบบเดียวกันพร้อมกันหลายคน จะทำให้ระบบหยุดทำงานได้เช่นกัน
                ผู้ใช้ทุกคนพึงระลึกเสมอว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บตู้จดหมายของแต่ละคนมิได้มีผู้ใช้เพียงไม่กี่คนแต่อาจมีผู้ใช้เป็ นพันคน หมื่นคน ดังนั้นระบบอาจมีปัญหาได้ง่าย ผู้ใช้แต่ละคนจะต้องมีความรับผิดชอบในการดูแลตู้จดหมายของตนเอง ดังนี้
               1. ตรวจสอบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของตนเองทุกวัน และจะต้องจัดเก็บแฟ้ มข้อมูลและจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของตนให้เหลือภายในโควต้าที่ผู้บริหารเครือข่ายก าหนดให้
               2. ลบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ต้องการแล้ว ออกจากระบบเพื่อลดปริมาณการใช้เนื ้อที่ระบบ
               3. ดูแลให้จ านวนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในตู้จดหมาย มีจ านวนน้อยที่สุด
               4. ควรโอนย้ายจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่จะใช้อ้างอิงภายหลัง มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง
               5. พึงระลึกเสมอว่าจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่เก็บไว้ในตู้จดหมายนี้อาจถูกผู้อื่นแอบอ่านได้ดังนั้นไม่ควรจัดเก็บข้อมูลหรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ใช้แล้วไว้ในตู้จดหมาย
               หลังจากผู้ใช้ได้รับบัญชี(account) ในโฮสจากผ้บู ริหารเครือข่าย ผู้ใช้จะได้รับสิทธ์ิให้ใช้เนื ้อที่ของระบบ ซึ่งเป็ นเนื้อที่เฉพาะที่เรียกว่า "โฮมไดเรกทอรี" ตามจำนวนโควต้าที่ผู้บริหารเครือข่ายก าหนด ผู้ใช้จะต้องมีความรับผิดชอบต่อเนื้อที่ดังกล่าว เพราะเนื้อที่ของระบบเหล่านี้เป็นเนื้อที่ที่ใช้ร่วมกัน เช่นโฮสแห่งหนึ่งมีผู้ใช้ร่วมกันสามพันคน ถ้าผู้บริหารเครือข่ายก าหนดเนื้อที่ให้ผู้ใช้คนละ 3 เมกะไบต์โฮสจะต้องมีเนื้อที่จ านวน 9 จิกะไบต์โดยความเป็ นจริงแล้ว โฮสไม่มีเนื้อที่จ านวนมากเท่าจ านวนดังกล่าว เพราะผู้บริหาร92เครือข่ายคิดเนื้อที่โดยเฉลี่ยของผู้ใช้เป็ น 1 เมกะไบต์ดังนั้นถ้าผู้ใช้ทุกคนใช้พื้นที่ให้พอเหมาะและจัดเก็บเฉพาะแฟ้ มข้อมูล ที่จ าเป็ นจะท าให้ระบบมีเนื้อที่ใช้งานได้มาก ผู้ใช้ทุกคนควรมีความรับผิดชอบร่วมกันดังนี้
               1. จัดเก็บแฟ้ มข้อมูลในโฮมไดเรกทรอรีของตนให้มีจำนวนต่ำที่สุด ควรโอนย้ายแฟ้ มข้อมูลมาเก็บไว้
ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง
               2. การแลกเปลี่ยนแฟ้ มข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนและผู้อื่นในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ควรจะตรวจสอบไวรัสเป็ นประจ า เพื่อลดการกระจายของไวรัสในเครือข่าย
              3. พึงระลึกเสมอว่าแฟ้ มข้อมูลของผู้ใช้ที่เก็บไว้บนเครื่องนั้น อาจได้รับการตรวจสอบโดยผู้ที่ มีสทธิ์สงูกว่า ดังนั ้นผู้ใช้ไม่ควรเก็บแฟ้ มข้อมูลที่เป็ นเรื่องลับเฉพาะไว้บนโฮส

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตต่อการจัดการศึกษา

             จากคุณสมบัติและปัจจัยต่างๆ ที่อินเทอร์เน็ตมีให้แก่ผู้ใช้นั้นเป็นโอกาสในการน ามาใช้ประโยชน์
ทางการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งมีสาระส าคัญต่อการศึกษาเป็ นอย่างมาก ดังนี้
             1. เปิดโอกาสให้ครูอาจารย์นักเรียน และนักศกึษา สามารถเข้าถงึแหล่งความรู้ที่
หลากหลาย หรือเสมือนหนึ่งมี" ห้องสมุดโลก" (Library of the World) เพียงปลายนิ้วสัมผัส เช่น ครูและ
นักเรียนสามารถค้นหาหรือสืบค้นข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ได้ทั่วโลกโดยไม่มีข้อจ ากัด ทางด้านสถานที่ และเวลา(Anywhere & Anytime) คณาจารย์และนักเรียนที่ด้อยโอกาส อันเนื่องมาจากความห่างไกล ทุรกันดาร ขาดแหล่งห้องสมุดที่ดี สามารถค้นหา ข้อมูลข่าวสารและความรู้ได้อย่างเท่าเทียมกันมากยิ่งขึ ้นเด็กนักเรียนเอง สามารถร่วมกันผลิตข้อมูลในแขนงต่าง ๆ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับพันธุ์
พืช ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ชุมชน ศิลปะ วัฒนธรรมท้องถิ่น ภูมิปัญญา
ชาวบ้าน เพื่อเผยแพร่แลกเปลี่ยนกับเด็กทั่วโลกในขณะที่ครูสามารถน าเนื ้อหาทางวิชาการที่มีประโยชน์ เช่น บทความทางวิชาการ เอกสารการสอนลงในเว็บไซต์เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาและแลกเปลี่ยนภายในวงการซึ่งกันและกัน
             2. พัฒนาการส่ือสารระหว่างครูกับนักเรียน ซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจากการที่อินเทอร์เน็ต สามารถ
ให้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความสะดวก รวดเร็ว แม่นย า และง่ายต่อการใช้ ท าให้เกิดการสื่อสารเพิ่มมากขึ้นในระบบการศึกษา ทั ้งที่เป็ นการสื่อสารระหว่างครูกับครู ครูกับนักเรียน และระหว่างนักเรียนกับนักเรียนเองซึ่งในปัจจุบันคณาจารย์จ านวนมากในหลายสถาบันทั้งระดับมัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ได้ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็ น สื่อกลางในการให้การบ้าน รับการบ้าน และตรวจส่งคืนการบ้าน ในขณะเดียวกันการสื่อสาร ระหว่างนักเรียนสามารถช่วยส่งเสริมการท างานกลุ่ม การปรึกษาหารือกับครูและเพื่อนนักเรียนในเชิงวิชาการ
            3. เปล่ียนบทบาทของครูและนักเรียน การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอน จะท าให้บทบาท
ของครูปรับเปลี่ยนไปจากการเน้นความเป็น "ผู้สอน" มาเป็ น "ผู้แนะนา  " มากขึ้น ในขณะที่กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนจะเป็ นการเรียนรู้"เชิงรุก" มากขึ้น ทั้งนี ้เนื่องจากฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ตเป็ นปัจจัยบวก93ที่ส าคัญที่จะเอื ้ออ านวยให้นักเรียนสามารถเรียนและค้นคว้าได้ด้วยตนเอง (independent learning) ได้สะดวกรวดเร็ว และมากยิ่งขึ้นแต่อย่างไรก็ตามก็มีความจ าเป็ นที่จะต้องตระหนักว่า บทบาทและรูปแบบที่จะปรับเปลี่ยนไปนี้จะต้องมีการเตรียมการที่ดีควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของครูที่จะต้องวางแผนการ "ชี้แนะ" ให้รัดกุม เพื่อให้การเรียนรู้ของเด็กมีประสิทธิผลดีขึ ้น ปรับจากการเรียนตามครูสอน
(passive learning) มาเป็ นการเรียนรู้วิธีเรียน (learning how to learn) และเป็ นการเรียนด้วยความอยากรู้
(active learning) อย่างมีทิศทาง.