ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี
พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ
จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก
โดยเริ่มที่
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตหาดใหญ่ (Prince of Songkla
University)
และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที
(AIT)
ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย
(โครงการ IDP)
ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตหาดใหญ่
ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต
Sritrang.psu.th
ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย
ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC (Thailand)
จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท
โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น
dect.co.th โดยที่คำ “th”
เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน
(Domain)
ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
โดยย่อมาจากคำว่า Thailand
กล่าวได้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด
24 ชั่วโมง
ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน
กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535
โดยสถาบันวิทยบริการ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว
9600 บิตต่อวินาที
จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท
ยูยูเน็ตเทคโนโลยี (UUNET Technologies)
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปีเดียวกัน
ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
(AIT) มหาวิทยาลัยมหิดล
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ
โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย
“ไทยเน็ต” (THAInet)
ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี
“ เกตเวย์ “ (Gateway)
หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย
(ปัจจุบันเครือข่ายไทยเน็ตประกอบด้วยสถาบันการศึกษา
4 แห่งเท่านั้น
ส่วนใหญ่ย้ายการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเนคเทค
(NECTEC)
หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ)
ปี พ.ศ. 2535 เช่นกัน
เป็นปีเริ่มต้นของการจัดตั้งกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาและวิจัยโดยมีชื่อว่า
"เอ็นดับเบิลยูจี" (NWG : NECTEC
E-mail Working Group)
โดยการดูแลของเนคเทค
และได้จัดตั้งเครือข่ายชื่อว่า
"ไทยสาร" (ThaiSarn : Thai
Social/Scientific Academic and Research Network)
เพื่อการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน
โดยเริ่มแรกประกอบด้วยสถาบันการศึกษา
8 แห่ง
ปัจจุบันเครือข่ายไทยสารเชื่อมโยงกับสถาบันต่างๆ
กว่า 30 แห่ง
ทั้งสถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐ
ปัจจุบันได้มีผู้รู้จักและใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น
มีอัตราการเติบโตมากกว่า 100 %
สมาชิกของอินเทอร์เน็ตขยายจากอาจารย์และนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาไปสู่ประชาชนทั่วไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น